วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

จริยธรรมในงานอาชีพคอมพิวเตอร์

ปัญหาจริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์
      คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำหรับใช้งานในธุรกิจต่างๆโดยสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอาชีพคอมพิวเตอร์เหมือนกับอาชีพอื่นๆ ในสังคมที่ผู้ประกอบอาชีพมีทั้งดีและไม่ดีปะปนกันปัญหาที่
ปัญหาทางจริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์นั้นเกิดมาจากใคร หรือ อะไรบ้าง
ตอบ
1.  ปัญหาการขาดจริยธรรมของนักคอมพิวเตอร์
2.  ปัญหาการขาดจริยธรรมของผู้ใช้ระบบเครือข่าย
3.  ปัญหาการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์

เป็นผลมาจากวิชาชีพคอมพิวเตอร์นั้นส่วนใหญ่มักเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับจริยธรรมเช่นการไม่เคารพสิทธิมนุษยชนการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวการทำซ้ำการดัดแปลงข้อมูลโดยไม่ถูกต้อง เป็นต้นโดยลักษณะของปัญหาที่เกิดขึ้นพอสรุปได้ ดังนี้
-                  
การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นเช่นการทำลายข้อมูลการปรับเปลี่ยนโปรแกรมเพื่อให้ทำงานผิดพลาด
-                   การรบกวนทางคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น เช่น การแพร่ไวรัสคอมพิวเตอร์
-                   การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเช่นการลักลอบแอบดูแฟ้มข้อมูล การตัดต่อภาพลามกอนาจารโดยมิชอบ
-                   การใช้คอมพิวเตอร์ก่ออาชยากรรมเช่นการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องช่วยในการโจรกรรมหรือก่อการร้าย
-                   การใช้คอมพิวเตอร์ทำเรื่องผิดกฎหมายเช่นการใช้เพื่อสร้างหลักฐานเท็จ การปลอมแปลงเอกสาร การเผยแพร่ภาพที่ชัดต่อศีลธรรมทางอินเทอร์เน็ต



        จริยธรรมในการประกอบอาชีพคอมพิวเตอร์
  ในการกำหนดจริยธรรมทางวิชาคอมพิวเตอร์แต่ละสมาคมมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไปแต่ก็อยู่ในหลักพื้นฐานเดียวกัน คือ หลักจริยธรรม เช่น การกำหนดจริยธรรมสมาคม ACM
พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับทำงาน
       การทำงานให้สำเร็จขึ้นอยู่กับความสามารถสองอย่างเป็นสำคัญ คือสามารถในการใช้วิชาความรู้อย่างหนึ่ง สามารถในการประสานสัมพันธ์กับผู้อื่น อย่างหนึ่ง ทั้งสองประการนี่จำต้องดำเนินคู่กันไปและจำเป็นต้องกระทำด้วยความสุจริตกายสุจริตใจด้วยความคิดเห็นที่เป็นอิสระปราศจากอคติ และด้วย ความถูกต้องความเหตุ ตามผลด้วย จึงจะช่วยให้งานบรรลุจุดมุ่งหมายและเป็นประโยชน์ที่พึงประสงค์โดยครบถ้วน แท้จริง

(The Association For Computing Machinery)ได้กำหนดจริยธรรมพื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์ 7 ประการดังนี้
1.       ทำเพื่อสังคม และบุคคล
2.       ไม่ทำร้ายผู้อื่น
3.       ยุติธรรม และไม่ทำการใดๆ ที่เป็นการกีดกัน
4.       ซื่อสัตย์ และเป็นที่ไว้วางใจ
5.       ให้การยอมรับสิทธิอื่นในทรัพย์สินทางปัญญา
6.       ให้การยอมรับในสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
7.       การเก็บรักษาความลับ
      โดยลักษณะแล้วไม่แตกต่างจากจริยธรรมพื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปซึ่งมีข้อกำหนดทางจริยธรรม ดังนี้ (ศิวัช กาญจนชุม , 2545 :156)
1.       ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น หรือละเมิดผู้อื่น
2.       ไม่ทำการรบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.       ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
4.       ไม่สเปอดแนมแก้ไขหรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
5.       ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.       ไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.       ไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยไม่ได้รับอนุญาต
8.       ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
9.       ไม่กระทำสิ่งที่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสังคม
10.   ไม่ใช้คอมพิวเตอร์อย่างไม่มีมารยาท โดยไม่เคารพต่อกฎและกติกา
      มารยาทในการใช้ระบบเครือข่ายและอินเตอร์เน็ต
มีลักษณะการเขียนภายในให้ส่งต่อไปเรื่อยไม่รู้จบจดหมายที่มีการลงท้ายว่า ถ้าผู้ได้รับไม่ส่งต่อไปจะประสบเคาระห์ร้าย ถ้าส่งต่อจะพบแต่สิ่งที่ดีจะส่งไปกี่ฉบับขึ้นตัวจดหมาย
      ในการใช้คอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กรหรือเป็นการใช้ระบบอินเทอร์เน็ตที่มีเครือข่ายทั่วโลก นักคอมพิวเตอร์และผู้ใช้ต้องคำนึงถึงมารยาทและความรับผิดชอบอย่างผู้มีจริยธรรมด้วยมารยาทและความรับผิดชอบในการใช้งานคอมพิวเตอร์ควรมี ดังนี้
1.)     ไม่ควรส่งจดหมายข่าวลือหรือจดหมายลูกโซ่
2.)     ไม่ควรตั้งชื่อ URL โดยใช้อักษรหลายขนาดปะปนกันเพราะจำทำให้สับสนและจดจำยาก
3.)     ไม่ใส่รูปที่มีขนาดใหญ่ในเว็บเพจเพราะจะทำให้ผู้ใช้งานเสียเวลาการเรียกดู
4.)     เมื่อต้องการลิงค์เว็บเพจที่สร้างไปเว็บเพจของผู้อื่น ควรแจ้งให้เจ้าของเว็บเพจทราบด้วยทุกครั้ง
5.)     ไม่ควรเผยแพร่ข้อความหรือรูปภาพที่เข้าข่ายลักษณะลามกอนาจารลงในเว็บไซต์ ผู้จัดทำเว็บไซต์ควรรับผิดต่อสังคม
6.)     ควรใส่อีเมล แอดเดรสของผู้จัดทำเว็บเพจไว้ด้านล่างของเว็บเพจแต่ละหน้า เพื่อใช้สามารถติดต่อหรือสอบถามเพิ่มเติมได้
7.)     ควรใส่ URL ใว้ด้านล่างของเว็บเพจแต่ละหน้าเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้งานจะได้ใช้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงได้
8.)     ควรใส่วันที่ในการ Update ข้อมูลเว็บเพจเพื่อแสดงให้ผู้ใช้เห็นว่าเป็นข้อมูลที่หันสมัยได้รับการ Update หรือแก้ไขแล้ว
เพราะเหตุใดต้องหมั่นดูแลจำนวนจดหมายใน Inbox และออกจากระบบทุกครั้งหลังการเลิกใช้งาน
ตอบ หมั่นดูแลลบจดหมายที่ไม่สำคัญหรือไม่ต้องการทิ้งไปออกจากระบบหลักเลิกใช้งานเพื่อลดปริมาณการใช้เนื้อที่ของพื้นที่เว็บ

 


                                                                                                                                                                           
ความรับผิดชอบในการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
1)      หมั่นตรวจสอบดูแลจำนวนจดหมายให้อยู่ในตู้จดหมายให้น้อยที่สุด
2)      หมั่นตรวจสอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของตนเองทุกวันจัดเก็บแฟ้มข้อมูลจดหมายของตนตามระเบียบที่มีผู้บริหารเครือข่ายกำหนด
3)      ลบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องการใช้ออกจากระบบ
4)      ผู้ใช้ที่ได้รับสิทธ์ให้ใช้ โฮมไดเรกทอรี่ซึ่งเป็นเนื้อเฉพาะของระบบ จะต้องใช้อย่างมีความรับผิดชอบ ควรใช้เนื้อหาที่ให้พอเหมาะ เพราะเป็นเนื้อที่ของระบบที่มีใช้งานร่วมกัน
  ข้อควรปฏิบัติ 10 ประการ ด้านความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ต
1)      ตั้งรหัสผ่านที่ยากแก่การคาดเดา
2)      เปลื่ยนรหัสผ่านอย่างสม่ำเสมอ เช่น ทุก 3เดือน
3)      ปรับปรุงโปรแกรมป้องกันไวรัสตลอดเวลา
4)      ให้ความรู้แก่บุคลากรในเรื่องความปลอดภัยในการรับไฟล์หรือการดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต เช่น อิเมล์
5)      ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับเครือข่ายอย่างสมบูรณ์
6)      ประเมินสถานการณ์ของความปลอดภัยในเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ
7)      ลบรหัสผ่านและบัญชีการใช้ของพนักงานที่ออกจากหน่วยงานทันที
8)      วางระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับการเข้าถึงระบบเครือข่ายของพนักงานจากภายนอกหน่วยงาน
9)      ปรับปรุงซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอ

10)  ไม่ใช้บริการบางตัวบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างไม่จำเป็น เช่นการดาวน์โหลดโปรแกรมเพราะไวรัสอาจแฝงตัวมากับโปรแกรมต่างๆ ได้

บทบาทของนักคอมพิวเตอร์

บทบาทของนักคอมพิวเตอร์
บทบาท หมายถึง พฤติกรรมหรือการกระทำที่บุคคลแสดงออกตามตำแหน่งหน้าที่ ที่ตนได้รับ การแสดงออกนั้นย่อมผูกพันกับความรับผิดชอบของผู้ดำรงตำแหน่งกับความคาดหวังของผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตำแหน่งนั้น (สรรเพชร อิสริยวัชรากร,2546: 194)
      บทบาทของนักคอมพิวเตอร์ หมายถึง พฤติกรรมหรือการกระทำที่นักคอมพิวเตอร์แสดงออกในฐานะกลไกที่มีส่วนผลักดันความเจริญก้าวหน้าของสังคมด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ พฤติกรรมเช่นนี้เป็นที่คาดหวังของสังคมว่านักคอมพิวเตอร์เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและเป็นผู้มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ในระดับที่ปัญญาชนพึงปฏิบัติ
      บทบาทของนักคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
1.    บทบาททั่วไป เป็นบทบาทที่จำเป็นต้องกระทำ เพื่อการดำเนินกิจการในการประกอบอาชีพ มีดังนี้
1.1)                         มีความเคลื่อนไหวในทางที่ทันยุคทันสมัย ศึกษาหาความรู้ใหม่ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคนเองอยู่เสมอ
1.2)                         มีความศรัทธาในวิชาชีพและซื่อสัตย์ต่อจรรยาวิชาชีพ
1.3)                         มีความเป็นตัวของตัวเองกล้าแสดงออกเพื่อเผยแพร่ความรู้ใหม่ๆจ่อสาธารณะหรือเพื่อพัฒนาวิชาชีพของตนโดยสุจริต
1.4)                         ประพฤติและวางจนอยู่ในกฎแห่งศีลธรรมแห่งศีลธรรมจรรยาอันเป็นบรรทัดฐานที่ยอมรับกันทั่วไปในสังคม
1.5)                        ประกอบอาชีพโดยสุจริตมีหลักแห่งจริยธรรมประจำใจ


2.      บทบาทที่คาดหวังเป็นบทบาทที่สังคมปรารถนา หรือคาดหวังให้นักคอมพิวเตอร์
แสดงออกต่อสังคม ได้แก่
2.1)                   บทบาทต่อสังคม  มีดังนี้
-                   ส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
-                   ร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาความรู้ทางคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
-                  
ร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ในการพัฒนาประเทศ
2.2)                   บทบาทต่อองค์กรทางวิชาชีพ มีดังนี้
-                   รักษาภาพจน์ที่ดีขององค์กรทางวิชาชีพ
-                   สร้างชื่อเสียงให้กับองค์กรทางวิชา
-                   ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยจรรยาวิชาชีพ
    หน้าที่ของนักคอมพิวเตอร์
      หน้าที่ หมายถึง สิ่งที่ทุกคนต้องกระทำโดยภาวะจำนวนซึ่งจามปกติจะเป็นตามหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม แต่บางครั้งก็เป็นไปตามกฎหมายหรือข้อตกลง
(สรรเพชร อิสริยวัชรากร,2546:194)
      หน้าที่ของนักคอมพิวเตอร์ หมายถึง กิจที่นักคอมพิวเตอร์พึงกระทำโดยอาศัยหลักคุณธรรม จริยธรรม กฎหมาย หรือข้อตกลงต่างๆได้
หน้าที่และความรับผิดชอบของนักคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.)    หน้าที่ตามทัศนะของทั่วไป
1.1)  มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ดูแลเอาใจใส่งานมรารับมอบหมาย
1.2) หน้าที่ด้วยความเรียบร้อย ไม่สร้างปัญหาให้กับสังคม
1.3)  คอยติดตามความเคลื่อนไหวหรือความรู้ใหม่มาเผยแพร่แก่


สาธารณะ
1.4)  แนะแนวปัญหาต่างๆเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
1.5)  สร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจให้แก่สังคมได้นำไปใช้ประโยชน์
2.)    หน้าที่ตามลักษณะของงาน
             2.1)  ผู้บริหารในงานอาชีพคอมพิวเตอร์ ได้แก่  ผู้บริหารระบบ,ผู้บริหารระบบฐานข้อมูล มีหน้า
กำหนดนโยบายขององค์กร วางแผนงานออกแบบระบบประสานงานกับฝ่ายต่างๆ สนับสนุนโครงการต่างๆ บริหารและจำทำโครงต่างๆให้สามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์และทันตามกำหนดเวลา






             2.2) หัวหน้าโครงการฝ่ายปฏิบัติการ ได้แก่ นักวิเคราะห์ระบบ วิศวกรระบบ วิศวกรซอฟต์แวร์ มีหน้าที่รับนโยบายจากผู้บริหาร นำมาดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรม จัดทำโครงการเพื่อสนองนโยบาย ประสานงานกับทุกฝายที่เกี่ยวข้อง ประชุม ออกแบบ วางแผน ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ การดำเนินโครงการ วิเคราะห์ปัญหา แนวทางแก้ไข จัดเตรียมกำลังคนเครื่องมือให้พร้อมประเมินโครงการและจัดทำรายงานเสนอต่อผู้บริหาร
             2.3) ฝ่ายปฏิบัติการ ได้แก่ นักโปรแกรมระบบนักพัฒนาโปรแกรมหรือผู้เขียนโปรแกรมผู้ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ผู้สร้างและดูแลเว็บไซต์รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมต่างๆเป็นผู้รับงานต่อจากหัวหน้าโครงการฝ่ายปฏิบัติการ หาสู่การ ปฏิบัติวิเคราะห์งานวางรูปแบบโปรแกรม ออกแบบและเขียนผังงานระบบผังงานโปรแกรมเขียนโปรแกรมป้อนและทดสอบโปรแกรมจัดทำคู่มือการสร้างและพัฒนาโปรแกรม จำทำคู่มือการใช่งานโปรแกรม

ครูผู้สอนชี้แจงให้นักเรียนคุณสมบัติของนักคอมพิวเตอร์ 3 ด้านคือด้านความรู้ด้านกิจนิสัย และทักษะ ฝึกให้นักเรียนจะต้องปฏิบัติตนให้เป็นคนดีขยันหมั่นเพียรในการเรียนเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการออกไปประกอบอาชีพในอนาคต