วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

ความรู้เบื้องตันเกี่ยวกับจริยธรรม

ความรู้เบื้องตันเกี่ยวกับจริยธรรม
      ความหมายของจริยาธรรม

จริยธรรม หมายถึง การแสดงออกทางการประพฤติปฏิบัติของบุคคลที่แดงให้ถึงการกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและอยู่ในกรอบศีลธรรม
ความหมายของจริยาธรรม
จริยธรรม หมายถึง การแสดงออกทางการประพฤติปฏิบัติของบุคคลที่แดงให้ถึงการกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและอยู่ในกรอบศีลธรรม
       องค์ประกอบของจริยธรรม
จริยธรรมถือแนวทางปฏิบัติในการดำรงชีวิตมนุษย์ในสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ประกอบด้วยองประกอบ ดังนี้
1.       ระเบียบวินัย (Discipline) การที่สังคมจะมีระเบียบวินัย ในสังคมต้องประพฤติปฏิบัติในเป็นไปตามข้อตกลงของสังคม











2.       สังคม (Society) การรวมกลุ่มกันเป็นสังคมหรือประกอบกิจกรรมใดๆ ในสังคม จะต้องมีแบบแผนมุ่งเน้นหรือแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ









3.       อิสระเสรี  (Autonomy) การบุคคลในสังคมมีเสรีภาพในการปกครองตนเองรวมถึงมีความสำนึกหรือมีนโนธรรมที่ได้รับการขัดเกลา




ประเภทของจริยธรรม
การแบ่งประเภทของจริยธรรม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ (พิภพ วชังเงิน 2545:5)
1.      จริยธรรมภายนอก จริยธรรมที่บุคคลแสดงออกทางพฤติกรรมภายนอกที่ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น ความรับผิดชอบ ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความมีวินัย การตรงต่อเวลา เป็นตัน



2.      จริยธรรมภายใน เป็นจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติของบุคคลตามสภาพของจิตใจและสภาวะแวดล้อม เช่น ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความเมตตา กรุณา ความกตัญญูกตเวที เป็นต้น









  ความสำคัญของจริยธรรม
    จริยาธรรมนับเป็นหลักขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนและทุกวงการชีพควรตระหนัก และยึดถือ
เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติ หากบุคคลใดหรือผู้ประกอบวิชาชีพใดขาดความมีจริยธรรม อาจส่งผลให้เกิดความเสื่อมเสียต่อตนเอง วงการวิชาชีพ และเกิดผลกระทบที่ร้องแรงต่อสังคมและประเทศชาติได้
   จริยธรรมทีความสำคัญทั้งต่อตนเองและสังคมส่วนรวมช่วยพัฒนาจิตใจและพฤติกรรมของบุคคลให้พลเมืองดีใช้ความรู้ความสามารถที่จะดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข และไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ต่าง ๆ  แก่ตนเองและประเทศชาติได้อย่างมีหลักหรือแนวทางที่ถูกต้อง

 ผู้สอนชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของจริยธรรม การมีจริยธรรม ทำให้เกิดระเบียบวินัยในตงเองมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเองส่งผลให้สังคมเกิดความสงบสุข ไม่เกิดความขัดแย้ง

  คุณค่าของจริยธรรม
   จริยธรรมเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกชนชั้นและทุกวงการอาชีพเป็นคุณธรรมที่จำเป็นและสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์  คุณค่าของจริยธรรมที่มีต่อชีวิตมนุษย์ ดังนี้
1)      จริยธรรมช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในทางที่ดีขึ้น สร้างความเจริญงอกงามให้แก่ร่างกายและจิตใจไปพร้อม ๆ กัน ทำให้เป็นชีวิตที่สมบูรณ์
2)      จริยธรรมช่วยให้มนุษย์รู้จักตนเอง มีความรับผิดชอบ สำนึกในหน้าที่ที่พึงมีต่อครอบครัว สงคมและประเทศ
3)      จริยธรรมช่วยให้เกิดสติปัญญา รู้จักให้ปัญญาในการหาเหตุผล แก้ไขปัญหาชีวิตได้อย่างมีสติ สามารถนำเอาหลักของจริยธรรมมาให้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาได้
4)      จริยธรรมช่วยสร้างความสงบสุขให้แก่สังคม และสร้างสันติสุขให้แก่โลก
5)      จริยธรรมช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างมีระเบียบ มีความอบอุ่น ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
6)      จริยธรรมช่วยให้มนุษย์ปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่น และสภาพแวดล้อมภายในกลุ่มสังคมของตนได้
7)      จริยธรรมช่วยป้องกันการเบียดเบียนและเอารัดเอาเปรียบในสังคม
8)      จริยธรรมช่วยให้มนุษย์มีความหนักแน่น ขยัน อดทน และต่อสู้เพื่อเอาชนะตนเองพึ่งตนเองได้
9)      จริยธรรมช่วยให้มนุษย์สามารถสามารถกำหนวดเป้าหมายของชีวิต และดำเนินไปได้อย่างบรรลุเป้าหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น