วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2558

บทบาทของนักคอมพิวเตอร์

บทบาทของนักคอมพิวเตอร์
บทบาท หมายถึง พฤติกรรมหรือการกระทำที่บุคคลแสดงออกตามตำแหน่งหน้าที่ ที่ตนได้รับ การแสดงออกนั้นย่อมผูกพันกับความรับผิดชอบของผู้ดำรงตำแหน่งกับความคาดหวังของผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตำแหน่งนั้น (สรรเพชร อิสริยวัชรากร,2546: 194)
      บทบาทของนักคอมพิวเตอร์ หมายถึง พฤติกรรมหรือการกระทำที่นักคอมพิวเตอร์แสดงออกในฐานะกลไกที่มีส่วนผลักดันความเจริญก้าวหน้าของสังคมด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ พฤติกรรมเช่นนี้เป็นที่คาดหวังของสังคมว่านักคอมพิวเตอร์เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและเป็นผู้มีศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ในระดับที่ปัญญาชนพึงปฏิบัติ
      บทบาทของนักคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
1.    บทบาททั่วไป เป็นบทบาทที่จำเป็นต้องกระทำ เพื่อการดำเนินกิจการในการประกอบอาชีพ มีดังนี้
1.1)                         มีความเคลื่อนไหวในทางที่ทันยุคทันสมัย ศึกษาหาความรู้ใหม่ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคนเองอยู่เสมอ
1.2)                         มีความศรัทธาในวิชาชีพและซื่อสัตย์ต่อจรรยาวิชาชีพ
1.3)                         มีความเป็นตัวของตัวเองกล้าแสดงออกเพื่อเผยแพร่ความรู้ใหม่ๆจ่อสาธารณะหรือเพื่อพัฒนาวิชาชีพของตนโดยสุจริต
1.4)                         ประพฤติและวางจนอยู่ในกฎแห่งศีลธรรมแห่งศีลธรรมจรรยาอันเป็นบรรทัดฐานที่ยอมรับกันทั่วไปในสังคม
1.5)                        ประกอบอาชีพโดยสุจริตมีหลักแห่งจริยธรรมประจำใจ


2.      บทบาทที่คาดหวังเป็นบทบาทที่สังคมปรารถนา หรือคาดหวังให้นักคอมพิวเตอร์
แสดงออกต่อสังคม ได้แก่
2.1)                   บทบาทต่อสังคม  มีดังนี้
-                   ส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
-                   ร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาความรู้ทางคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
-                  
ร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ในการพัฒนาประเทศ
2.2)                   บทบาทต่อองค์กรทางวิชาชีพ มีดังนี้
-                   รักษาภาพจน์ที่ดีขององค์กรทางวิชาชีพ
-                   สร้างชื่อเสียงให้กับองค์กรทางวิชา
-                   ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยจรรยาวิชาชีพ
    หน้าที่ของนักคอมพิวเตอร์
      หน้าที่ หมายถึง สิ่งที่ทุกคนต้องกระทำโดยภาวะจำนวนซึ่งจามปกติจะเป็นตามหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม แต่บางครั้งก็เป็นไปตามกฎหมายหรือข้อตกลง
(สรรเพชร อิสริยวัชรากร,2546:194)
      หน้าที่ของนักคอมพิวเตอร์ หมายถึง กิจที่นักคอมพิวเตอร์พึงกระทำโดยอาศัยหลักคุณธรรม จริยธรรม กฎหมาย หรือข้อตกลงต่างๆได้
หน้าที่และความรับผิดชอบของนักคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.)    หน้าที่ตามทัศนะของทั่วไป
1.1)  มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ดูแลเอาใจใส่งานมรารับมอบหมาย
1.2) หน้าที่ด้วยความเรียบร้อย ไม่สร้างปัญหาให้กับสังคม
1.3)  คอยติดตามความเคลื่อนไหวหรือความรู้ใหม่มาเผยแพร่แก่


สาธารณะ
1.4)  แนะแนวปัญหาต่างๆเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
1.5)  สร้างสรรค์ผลงานที่น่าสนใจให้แก่สังคมได้นำไปใช้ประโยชน์
2.)    หน้าที่ตามลักษณะของงาน
             2.1)  ผู้บริหารในงานอาชีพคอมพิวเตอร์ ได้แก่  ผู้บริหารระบบ,ผู้บริหารระบบฐานข้อมูล มีหน้า
กำหนดนโยบายขององค์กร วางแผนงานออกแบบระบบประสานงานกับฝ่ายต่างๆ สนับสนุนโครงการต่างๆ บริหารและจำทำโครงต่างๆให้สามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์และทันตามกำหนดเวลา






             2.2) หัวหน้าโครงการฝ่ายปฏิบัติการ ได้แก่ นักวิเคราะห์ระบบ วิศวกรระบบ วิศวกรซอฟต์แวร์ มีหน้าที่รับนโยบายจากผู้บริหาร นำมาดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรม จัดทำโครงการเพื่อสนองนโยบาย ประสานงานกับทุกฝายที่เกี่ยวข้อง ประชุม ออกแบบ วางแผน ควบคุม ดูแล ตรวจสอบ การดำเนินโครงการ วิเคราะห์ปัญหา แนวทางแก้ไข จัดเตรียมกำลังคนเครื่องมือให้พร้อมประเมินโครงการและจัดทำรายงานเสนอต่อผู้บริหาร
             2.3) ฝ่ายปฏิบัติการ ได้แก่ นักโปรแกรมระบบนักพัฒนาโปรแกรมหรือผู้เขียนโปรแกรมผู้ปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ผู้สร้างและดูแลเว็บไซต์รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมต่างๆเป็นผู้รับงานต่อจากหัวหน้าโครงการฝ่ายปฏิบัติการ หาสู่การ ปฏิบัติวิเคราะห์งานวางรูปแบบโปรแกรม ออกแบบและเขียนผังงานระบบผังงานโปรแกรมเขียนโปรแกรมป้อนและทดสอบโปรแกรมจัดทำคู่มือการสร้างและพัฒนาโปรแกรม จำทำคู่มือการใช่งานโปรแกรม

ครูผู้สอนชี้แจงให้นักเรียนคุณสมบัติของนักคอมพิวเตอร์ 3 ด้านคือด้านความรู้ด้านกิจนิสัย และทักษะ ฝึกให้นักเรียนจะต้องปฏิบัติตนให้เป็นคนดีขยันหมั่นเพียรในการเรียนเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะในการออกไปประกอบอาชีพในอนาคต



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น